วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557



คลื่นเสียง (Sound wave)
ธรรมชาติของเสียง                                                  
การเกิดเสียง                                                       
คลื่นเสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง โดยพลังงานจากการสั่นจะถ่ายโอนให้กับโมเลกุลของอากาศโดยรอบ แล้วถ่ายโอนพลังงานให้กับโมเลกุลใกล้เคียง โมเลกุลต่อโมเลกุล โมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมา แบบ SHM แนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงดังนั้น เสียงจึงเป็นคลื่นตามยาว




อากาศช่วงอัดของอากาศจะมีความดันสูงกว่าความดันปกติและในช่วงขยายจะมีความดันต่ำกว่าความดันปกติ และจากกราฟจะสังเกตได้ว่ากราฟการกระจัดจะนำกราฟความดันอยู่ 90 องศา



ข้อควรรู้เกี่ยวกับเสียง
         1.เสียงเป็นคลื่นกลตามยาวและเกิดจากการสั่นของอนุภาคตัวกลาง                          
2.เสียงดัง แสดงว่า อนุภาคสั่นแรง มีพลังงานสูง มีการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศมาก
3.เสียงค่อย แสดงว่า อนุภาคสั่นเบา มีพลังงานต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศน้อย
4.เมื่อโมเลกุลของอากาศหนาแน่นมาก ใจกลางนั้น โมเลกุลอากาศจะหยุดนิ่ง การกระจัดเป็นศูนย์ ความดันจะสูงที่สุด
5.เมื่อโมเลกุลของอากาศเบาบางมาก ใจกลางนั้น โมเลกุลอากาศจะหยุดนิ่ง การกระจัดเป็นศูนย์ ความดันจะต่ำที่สุด
6.ส่วนอัดถึงส่วนขยายจะห่างกันครึ่งนึงของความยาวคลื่น
อัตราเร็วของเสียง
        จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลาง เช่น ความหนาแน่น ความยืดหยุ่น เป็นต้น                   
        ถ้าพิจารณาเฉพาะแก๊สจะพบว่า ถ้าแก๊สมีอุณหภูมิสูงจะทำให้มีพลังงานจลน์มาก การถ่ายโอนพลังงานก็จะเร็วขึ้นจึงทำให้มีอัตราเร็วสูงขึ้น จะได้ว่า
อัตราเร็วของเสียงแปรผันตรงกับรากที่สองของอุณหภูมิสัมบูรณ์ (K)”

ดังนั้นหรือ 
และสูตรหาอัตราเร็วเสียงที่
การคำนวณการเคลื่อนที่ของเสียง
        เสียงจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่เสมอในตัวกลางหนึ่งๆ ฉะนั้นสมการการเคลื่อนที่ของเสียงจะใช้ตามสมการของคลื่นคือ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น