วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การแทรกสอดของเสียง
สำหรับคลื่นเสียงจะแบ่งเป็นสามส่วน ดังนี้

.การแทรกสอดจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ (Coherent Source)
        ตำแหน่งที่แทรกสอดแบบเสริมกัน จะเป็นตำแหน่งปฏิบัพ จะได้ยินเสียงดังที่สุด และตำแหน่งที่แทรกสอดแบบหักล้างกัน จะเป็นตำแหน่งบัพ จะได้ยินเสียงเบที่สุดหรือไม่ได้ยินเลยก็ได้

Credit: ideal physic

จากรูป ตำแหน่งตรงกลางเป็นแนวปฏิบัพ จึงสรุปสูตรได้ว่า

   เมื่อ P เป็นปฏิบัพ

    เมื่อ P เป็นบัพ

คลื่นนิ่งของเสียง
        เกิดจากคลื่นสองขบวนมีความถี่เท่ากัน มารวมกับแบบเสริมและแบบหักล้างกัน ดังรูป



Credit: ideal physic

** เสียงดัง เป็นปฏิบัพของความดันแต่เป็นบัพของการกระจัด
    เสียงค่อย เป็นบัพของความดันแต่เป็นปฏิบัพของการกระจัด

2. ปรากฏการณ์บีตส์ (Beat)
เป็นปรากฎการณ์จากการแทรกสอดของคลื่นเสียง  2  ขบวน   ที่มีความถี่แตกต่างกันเล็กน้อย  และเคลื่อนที่อยู่ในแนวเดียวกันเกิดการรวมคลื่นเป็นคลื่นเดียวกัน  ทำให้แอมพลิจูดเปลี่ยนไป  เป็นผลทำให้เกิดเสียงดังเสียงค่อยสลับกันไปด้วยความถี่ค่าหนึ่ง





สรุป จากการรวมกันของคลื่นซึ่งมีความถี่ต่างกัน ได้ว่า

1.จังหวะของเสียงที่ได้ยินคือ ค่าความถี่บีตส์      


2.ความถี่ของเสียงที่ได้ยิน                             
   

3.ปรากฏการณ์การสั่นพ้อง (Resonance)
        เมื่อเสียงที่ออกจากแหล่งกำเนิดตรงกับความที่ธรรมชาติของการสั่นของอนุภาคอากาศพอดี อนุภาคของอากาศจะสั่นแรงสุด และได้ยินเสียงดังที่สุด ปรากฏการณืนี้เรียกว่า การสั่นพ้องของเสียง หรือ การกำทอน หรือ อภินาท หรือ เรโซแนนซ์

หลอดปลายเปิด เป็นหลอดปลายเปิดทั้งสองข้าง

Credit: www.sa.ac.th
สรุปได้ว่า ความถี่ที่ทำให้เกิดการกำทอนของหลอดปลายเปิดมีได้ทุกฮาโมนิค จึงได้สมการออกมาว่า




หลอดปลายปิด เปิดหลอดปิดหนึ่งข้าง เปิดหนึ่งข้าง

Credit: www.sa.ac.th
สรุปได้ว่า ความถี่ที่ทำให้เกิดการกำทอนของหลอดปลายปิด มีได้เฉพาะฮาโมนิคที่เป็นเลขคี่ จึงได้สมการออกมาว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น